ข้อควรรู้ก่อนรีโนเวทบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ และตึกแถวเก่า

บ้าน ทาวน์เฮ้าส์และตึกแถวเก่า ต่างก็เป็นที่อยู่อาศัยที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่เมื่อผ่านไปเป็นเวลานานอาคารเหล่านี้ก็มักจะเก่าและทรุดโทรมลงตามกาลเวลา เมื่อถึงเวลารีโนเวทบ้านก็มีข้อควรระวังหลายข้อก่อนจะเริ่มก่อสร้าง วันนี้ จึงมี 10 ข้อควรรู้ก่อนรีโนเวทบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ และตึกแถวเก่ามาเป็นแนวทางให้กับคนที่เตรียมรีโนเวทบ้านกันอยู่

ข้อควรรู้ก่อนรีโนเวทบ้าน

1. ตัดสินใจก่อนว่ารีโนเวทเพื่ออะไร
ก่อนเริ่มต้นรีโนเวทบ้านเก่า ทาวน์เฮ้าส์หรือตึกแถวเก่านั้น เราจำเป็นต้องตัดสินใจให้แน่วแน่ว่า “ต้องการรีโนเวทเพื่ออะไร” ไม่ว่าจะเป็นเพื่อปรับโครงสร้างบ้าน รี โน เวท บ้าน ราคาประหยัด ต่อเติมพื้นที่อยู่อาศัยหรือปรับปรุงเพื่อใช้สำหรับทำธุรกิจร่วมด้วย เพราะแน่นอนว่าการรีโนเวทบ้านนั้นเกี่ยวข้องกับงบประมาณโดยตรง ในบางครั้งการรีโนเวทอาจใช้งบประมาณเท่ากับการสร้างบ้านใหม่เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นหากไม่ตัดสินใจหรือวางแผนให้ดีก็อาจทำให้ต้องกลับมาแก้ไขกันทีหลังทำให้งบประมาณบานปลายได้

2. เตรียมงบประมาณให้พร้อม
ปัจจัยสำคัญที่สุดของการรีโนเวทที่อยู่อาศัยก็คือ “เงิน” และแทบทุกขั้นตอนของการซ่อมแซมล้วนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นค่าออกแบบ ค่าจ้างผู้รับเหมา ค่าวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการซ่อมแซมหากมีปัญหาใหม่ๆ ที่ต้องแก้ไขเกิดขึ้นมา จึงควรเผื่องบประมาณไว้ประมาณ 20 – 30% ของงบประมาณทั้งหมด ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้งานล่าช้ากว่าเดิมได้หากมีเหตุการณ์เข้ามาทำให้การเงินสะดุด

3. ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นอกจากเรื่องงบประมาณแล้วการรีโนเวทบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์และตึกแถวต่างก็เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดและกฎหมายทั้งสิ้น โดยจุดที่คนมักมองข้ามกันบ่อย เช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หรือ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร กำหนดให้การก่อสร้างหรือต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียง อีกทั้งยังมีข้อกฎหมายอื่นๆ

ดังนั้นก่อนทำการ รีโนเวทบ้าน จำเป็นต้องนำแบบบ้านส่วนต่อเติมขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่เขตก่อน ไม่เช่นนั้นหากไม่ปรับปรุงหรือต่อเติมบ้านภายใต้ข้อกฎหมายแล้วก็อาจทำให้หลังสร้างเสร็จอาจถูกรื้อถอนหรือเสียค่าปรับไปจนถึงจำคุกได้เลยทีเดียว

4. ตรวจสอบโครงสร้างบ้านให้ดี
ก่อนจะเริ่มก่อสร้างควรสำรวจโครงสร้างบ้านก่อนว่าโครงสร้างบ้านสามารถรับน้ำหนักส่วนที่จะต่อเติมหรือมีส่วนไหนที่เสียหายต้องซ่อมแซมก่อนหรือไม่ เพราะโครงสร้างเป็นส่วนที่จะรองรับน้ำหนักทั้งหมดหรือส่วนที่จะเพิ่มเติมขึ้นมาไม่อย่างนั้นหากไม่ตรวจสอบให้ดีอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ รีโนเวทบ้าน pantip อย่างไรก็ตามหากโครงสร้างเดิมเสียหายมากเกินไปการทุบแล้วสร้างใหม่ก็อาจเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ามากกว่า

5. อย่ามองข้ามงานระบบ
นอกจากโครงสร้างอาคารแล้วก็ไม่ควรมองข้ามงานระบบ ทั้งไฟฟ้า ประปาซึ่งถือเป็นส่วนที่มีความละเอียดอ่อนภายในตัวอาคารพอสมควร โดยเฉพาะในอาคารเก่ามากกว่า 10 ปี ระบบเหล่านี้ก็มักจะทรุดโทรมลงไปมากแล้ว ดังนั้นจึงควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาสำรวจว่ามีสายไฟชำรุดหรือท่อปะปารั่วซึมตรงไหนบ้าง เพื่อที่จะซ่อมแซมได้ถูกจุดก่อนจะเริ่มรีโนเวท

6. ดูแปลนบ้านอย่างละเอียด
สำหรับการออกแบบส่วนที่ปรับปรุงใหม่ควรดูแปลนบ้านอย่างละเอียด โดยแปลนที่ดีควรมีรายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อให้เราเข้าใจภาพรวมของงานทั้งหมดและทราบถึงรายละเอียดที่จะนำมาปรับปรุง ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณ วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง และหากมีส่วนบกพร่องที่ยังไม่พอใจเราก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

7. เลือกผู้รับเหมาที่เป็นมืออาชีพ
ถึงแม้ว่าการจ้างผู้รับเหมาที่เป็นมืออาชีพอาจจะต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่เพื่อความสบายใจแล้วก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะถ้าหากไม่เลือกผู้รับเหมาให้ดีแล้วนอกจากจะทำให้งานออกมาไม่ดีแล้วก็ยังต้องเสียทั้งเวลาเสียทั้งเงินเพื่อมาแก้ไขปรับปรุงกันอีกด้วยรวมไปถึงอาจส่งผลถึงโครงสร้างบ้านในระยะยาวได้อีกด้วย โดยสิ่งที่ควรรู้ก่อนว่าจ้างผู้รับเหมาได้แก่
– ตรวจสอบประวัติผู้รับเหมาและผลงานที่ผ่านมา
– ช่างที่บริหารจัดการงานได้ดี ใส่ใจงานได้อย่างเต็มที่ไม่ทำให้เกิดความล่าช้า
– ห้ามละเลยการทำสัญญาเด็ดขาด ควรใส่รายละเอียดการทำสัญญาให้ครบถ้วน เช่น ข้อมูลสถานที่ รูปแบบและระยะเวลาการก่อสร้าง รวมไปถึงกำหนดค่าปรับหากงานไม่เสร็จตามวันที่กำหนด

8. เลือกวัสดุให้เหมาะสมกับบ้านเรา
เนื่องจากโครงสร้างบ้านเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักวัสดุทั้งหมดโดยเฉพาะบ้านที่เริ่มมีอายุมากแล้วก็อาจรับน้ำหนักได้ไม่ดีมากนัก เพื่อป้องกันการรับน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมจึงควรเลือกวัสดุที่ใช้ก่อสร้างให้ดี ควรเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ใช้ผนังเบาแทนการก่ออิฐ โดยปัจจุบันก็มีวัสดุที่มีน้ำหนักเบาและราคาไม่สูงให้เลือกหลากหลาย

9. แจ้งเพื่อนบ้านก่อนเริ่มก่อสร้าง
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอนในการรีโนเวทบ้าน ทาวน์เฮ้าส์และตึกแถวเก่าคือ เสียงที่ดังรบกวนเพื่อนบ้านโดยรอบทั้งเสียงทุบ เจาะอีกทั้งกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ ดังนั้นก่อนเริ่มก่อสร้างอย่าลืมแจ้งเรื่องการก่อสร้างต่อเพื่อนบ้านด้วย เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจและรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

10. อย่าเปลี่ยนใจบ่อย
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าควรตัดสินใจให้แน่วแน่ก่อนจะเริ่มลงมือวางแผนรีโนเวทที่อยู่อาศัย แต่ในความเป็นจริงแล้วระหว่างก่อสร้างจริงมักมีสิ่งต่างๆ เข้ามาทำให้เราลังเลหรืออยากเปลี่ยนใจได้ ดังนั้นควรยึดแผนที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดไม่เปลี่ยนใจบ่อยเพราะนอกจากจะเสียเวลาแล้วก็ยังทำให้งบประมาณบานปลายมากขึ้นอีกนั่นเอง